Month: กรกฎาคม 2017

ถั่วฝักยาว ระบบเกษตรอินทรีย์, จุลินทรีย์ ชีวภาพ

Posted on Updated on

ถั่วฝักยาว และการปลูกถั่วฝักยาวระบบเกษตรอินทรีย์, จุลินทรีย์ ชีวภาพ

แปลงถั่วฝักยาว วิธีการปลูกถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาวไร้ค้าง

ถั่วฝักยาว (Snake bean) เป็นพืชล้มลุกปีเดียวที่นิยมปลูก และนิยมรับประทานมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีรสหวานกรอบ ใช้รับประทานเป็นผักสด ผักจิ้มน้ำพริก นอกจากนั้น ยังส่งจำหน่ายต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และยุโรป

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna unguiculata L. Walp.
• ชื่อสามัญ :
– Yard long bean
– Snake bean
– String bean
– Asparagus bean
– Bodie bean

ถั่วฝักยาวมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและอินเดีย จัดเป็นพืชผักในตระกูลถั่วที่นิยมรับประทานกัน
ทั่วไปในทวีปเอเชียโดยเฉพาะประเทศไทย ถั่วฝักยาวยังถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยอีกทั้งยังเป็นพืชที่ปลูกได้ ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤศจิกายน Read the rest of this entry »

สังกะสีสำคัญต่อสุขภาพ

Posted on Updated on

* สังกะสี…สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งพืช สัตว์และมนุษย์จำเป็นต้องได้รับธาตุสังกะสีเพื่อดำรงชีวิต
* ธาตุสังกะสีมีบทบาทสำคัญในเอ็นไซม์กว่า 300 ชนิดในร่างกายของมนุษย์ เอ็นไซม์เหล่านี้ทำหน้าที่ในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันและแอลกอฮอล์
* ร่างกายของผู้ใหญ่ประกอบด้วยธาตุสังกะสีประมาณ 2-3 กรัม
* ภาวะขาดธาตุสังกะสีเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ถูกจัดอยู่ในอันดับ 11 จาก 20 ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับมนุษย์
* องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตทั่วโลก 800,000 คน สืบเนื่องมาจากภาวะขาดธาตุสังกะสี และระบุว่าสาเหตุใหญ่มาจากการได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอหรือร่างกายมีการดูดซึมธาตุสังกะสีได้ไม่ดี
* ประมาณหนึ่งในสามของประชากรโลกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการขาดธาตุสังกะสี * เกือบ 50% ของดินที่ใช้เพาะปลูกธัญพืชทั่วโลกเป็นดินที่ขาดธาตุสังกะสี

ใครบ้างที่ต้องการหธาตุสังกะสี

เราทุกคนล้วนต้องการธาตุสังกะสี เด็กต้องการธาตุสังกะสีเพื่อการเจริญเติบโต ผู้ใหญ่ต้องการธาตุสังกะสีเพื่อสุขภาพที่ดี ทารกที่กำลังเจริญเติบโต เด็กและคนวัยหนุ่มสาว ผู้หญิงตั้งครรภ์และแม่ที่ให้นมบุตร นักกีฬา คนที่กินมังสวิรัติและคนชรามักจะต้องการธาตุสังกะสีมากเป็นพิเศษ

ปริมาณธาตุสังกะสีที่ร่างกายควรจะได้รับในแต่ละวัน Read the rest of this entry »

การแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า

Posted on Updated on

การเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร โดยการใช้วัตถุดิบจากผลผลิตการเกษตรผ่านกระบวนการแปรรูป แปลงสภาพให้เป็นอาหารที่ต้องการผู้บริโภคได้ โดยกระบวนการดังกล่าวมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถในการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบต้นน้ำ ดังนั้นสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปจึงเห็นว่าการพัฒนาระบบส่งเสริมสนับสนุน (Enabling System) ให้เกิดการต่อยอดการนำผลงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร (Food Science)ไปผลิตเป็นเชิงพาณิชย์เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพเพื่อเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ เป็นต้น สำหรับช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตผลการเกษตร จึงจัดทำเป็นกิจกรรมพัฒนาเชื่อมโยงนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่เชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปครบวงจร(National Food Valley) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปตลอดโซ่อุปทาน(Value Food Chain) ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกทั้งสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจสามารถแข่งขันในตลาด AEC ได้อย่างมั่นใจในปี 2558 เป็นต้นไป

  1. ข้าวกล้องหอมมะลิ   ปลอดภัย(เพราะใช้ระบบเกษตรอินทรีย์, จุลินทรีย์ ชีวภาพ) 
  2. สลัดผัก สลัดผลไม้   ปลอดภัย(เพราะใช้ระบบเกษตรอินทรีย์, จุลินทรีย์ ชีวภาพ) 
  3.  เห็ดหลินจือ   ปลอดภัย(เพราะใช้ระบบเกษตรอินทรีย์, จุลินทรีย์ ชีวภาพ) 
  4. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) และ ผลิตภัณฑ์ ต่างๆ  (เมลอนมะเดื่ออิสราเอลมะนาวฟักข้าวกบอ้อยไก่ไข่ปลาหมู , พืชผักสวนครัว ฯลฯปลอดภัย(เพราะใช้ระบบเกษตรอินทรีย์, จุลินทรีย์ ชีวภาพ))  
  5. ปลาร้าต่วงปลาร้านัว ปลอดภัย(เพราะใช้ระบบเกษตรอินทรีย์, จุลินทรีย์ ชีวภาพ) 
  6.  เห็ดขอนขาวเห็ดฟางเห็ดนางฟ้า   ปลอดภัย(เพราะใช้ระบบเกษตรอินทรีย์, จุลินทรีย์ ชีวภาพ) 
  7.  ผ้าไหม(Thai Silks)

 

ผลผลิตทางการเกษตร
การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจะช่วยป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสด ซึ่งช่วยยกระดับราคาผลิตผล ไม่ให้ตกต่ำ การเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารระดับอุตสาหกรรม ที่สามารถรับวัตถุ ดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารจำนวนมากได้ การผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การส่งเสริม ให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มพูน รายได้ให้แก่ประเทศได้เป็นอย่างดี Read the rest of this entry »